Q10 โคเอมไซม์คิวเท็น
1,060.00 บาท
ติดต่อสอบถาม

Q10

Coenzyme  Q10 Puls

โคเอนไซม์คิวเทน พลัส

 

          ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารคิวเท็น พลัส เสริมอาหารที่ใช้ในการดูแลหลอดเลือด ผู้ป่วยโรคหัวใจ ตับ ไต สมอง หลอดเลือด บำรุงผิว ต้านอนุมูลอิสระเสริมสร้างกล้ามเนื้อ และดูแลผู้ป่วยภูมิแพ้ ต้านมะเร็ง ลดคอเรสเตอรอล และไตกีรเซอร์ไรด์ เพิ่มไขมันดี HDL ลดความดัน ฯลฯ 

ส่วนประกอบที่สำคัญโดยประมาณ

- ใน 1 แคปซูล ประกอบด้วย 600 มก.

- น้ำมันจมูกข้าว           175.50 มก.

- โคเอ็นไซม์ คิวเทน        30.00 มก. (คิวเท็นคุณภาพสูงจากประเทศ ญี่ปุ่น)

- เบต้า แคโรทีน             15.00 มก.

- สารสกัดจากเปลือกสน     14.00 มก.

- แกมมา โอไรซานอล        6.00 มก.

 

วิธีรับประทาน : วันละ 1 แคปซูล

• การได้รับสารอาหารต่าง ๆ นั้นควรได้จากการบริโภคอาหารหลักที่หลากชนิดครบทั้ง 5 หมู่และเป็นสัดส่วนที่พอเหมาะ
• เด็กและสตรีมีครรภ์ไม่ควรรับประทาน


Price :  1,060 บาท

 

 

ความรู้ทั่วไป.....กับโคเอ็นไซม์  คิวเทน

โคเอ็นไซม์  คิวเทน ( Coenzyme Q10 )  คืออะไร

          คือ  โคเอ็นไซม์  คิวเทน หรือวิตามิน Q เป็นสารคล้ายวิตามินที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการสร้างพลังงาน ของเซลล์ร่างกายที่มีความจำเป็นต่อเซลล์ต่างๆในร่างกาย

 

โคเอ็นไซม์  คิวเทน ( Coenzyme Q 10 )  มาจากไหน

          Coenzyme Q10 ตามธรรมชาติ เกิดขึ้นเองภายในเซลล์ของอวัยวะที่ต้องการพลังงานสูงเช่น หัวใจ ตับ ไต และยังพบที่เซลล์อื่นๆอีก เช่น ที่ผิวหนังโดยที่ชั้นหนังกำพร้าละหนังแท้แต่จะมีจำนวนลดลงเมื่อมีอายุมากขึ้น นอกจากนี้ยังได้รับจากการรับประทานอาหารจำพวกปลาที่มีไขมันมาก เช่น ปลาทู ปลาซาบะ ปลาซาร์ดีน เนื้อสัตว์ประเภทไก่ ถั่ว เมล็ดธัญพืชที่ไม่ขัดขาวผลไม้เปลือกแข็งผักเช่น บร๊อคโคลี่ ปวยเล้ง

โคเอ็นไซม์  คิวเทน ( Coenzyme Q10 ) ดีอย่างไรต่อร่างกาย

          คุณสมบัติเด่นของ Coenzyme Q10  เป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระ คือสามารถชะลอความแก่ได้ โดยที่ Coenzyme Q10 สามารถสร้างพลังงานให้กับผิวเพื่อในการแบ่งเซลล์ ทำให้ริ้วรอยต่างๆสามารถลดลงและเลือนหายไป นอกเหนือจากคุณสมบัติในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและชะลอความแก่ได้Coenzyme Q10 ยังมีคุณสมบัติต่างๆเช่นในการทำงานของหัวใจดีขึ้น ช่วยเสริมเกราะภูมิคุ้มกันให้สูงขึ้นป้องกันและรักษาโรคเหงือกความดันเลือดสูง คลอเรสเตอรอลสูง


การทำงานของโคเอ็นไซม์ คิวเทน

          การทำงานของโคเอ็นไซม์คิวเทน ทำตัวเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ(Free Radicals) คล้ายกับวิตามินซี วิตามินอีช่วยป้องกันไม่ให้อนุมูลอิสระเข้าโจมตีโมเลกุลไขมันในเซลล์ ช่วยรักษาผนังของเซลล์ให้คงสภาพสมบูรณ์ โคเอ็นไซม์คิวเทน ออกฤทธิ์ในอวัยวะของเซลล์ ส่วนที่เรียกว่า ไมโตคอนเครียซึ่งเป็นเหมือนโรงงานสำคัญ ที่ผลิตพลังงานสำหรับเซลล์ทำหน้าที่สันดาปโดยใช้ออกซิเจนด้วยกระบวนการที่เรียกว่า ไอโออีเนอเจติตส์


ผลการศึกษาโคเอ็นไซม์  คิวเทน

          ผลการศึกษาของอเมริกา โดยมหาวิทยาลัยบอสตัน พบว่า Q10  ช่วยยับยั้ง การจับตัวเป็นก้อนแข็งของคลอเลสเตอรอลในหลอดเลือดแดง ในหัวใจจึงป้องกันเส้นเลือดอุดตันของหัวใจด้วย และยังพบด้วยว่าการออกฤทธิ์แบบนี้แรงกว่าวิตามินอีและเบต้าแคโรทีนเสียอีก

          นอกจากนี้ยังพบว่า โคเอ็นไซม์ Q10 ยังมีฤทธิ์ช่วยป้องกันการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจทำงานล้มเหลวเรียกว่า Cardiomyopathy   ซึ่งหมายถึงการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแอ จนทำงานล้มเหลวเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ โรคนี้เรียกว่าโรคหัวใจโตซึ่งเกิดจากการขยายใหญ่ขึ้นของหัวใจ แต่ประสิทธิภาพของการทำงานกลับลดลง สูบฉีดโลหิตได้น้อยลงกว่าเดิม ทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจได้ไม่เต็มที่ เกิดอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย และไม่มีแรง จากการศึกษาในคนไข้ ชาวอิตาเลียนกว่า 2,500 ราย พบว่ากว่าร้อยละ 80 มีอาการของโรคหัวใจดีขึ้นเมื่อกินโคเอ็นไซม์ คิวเทน วันละ100 มิลลิกรัม 

      ส่วนประเทศญี่ปุ่น มีการทำวิจัยไว้ถึง 25ชิ้น พบว่าผู้ป่วยร้อยละ 70 มีอาการดีขึ้นจากโรคหัวใจปัจจุบันโคเอ็นไซม์ คิวเทน  เป็นยาตามใบสั่งที่มีขายทั่วไป โดยประเทศญี่ปุ่นหลายแห่งสังเคราะห์และผลิตโคเอ็นไซม์คิวเทนจำหน่ายทั่วโลก ที่ถือได้ว่าเป็น Q10 ที่มีคุณภาพสูงมากๆ และสกัดจากพืชอีกด้วย


ความมหัศจรรย์ของ โคคิว 10

         โคคิว 10 หรืออีกชื่อหนึ่งก็คือ ยูบิควิโนน (Ubiauinone) เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับสุขภาพและการอยู่รอด ที่่มีอยู่ในเซลล์ของมนุษย์ทุกเซล โคคิว 10 นั้น มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการถ่าย เทอีเลคตรอนสำหรับไมโตคอนเดรีย ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานของเซลล์  มีรูปร่างคล้ายซิการ์ ร่างกายเรามีไมโตคอนเดรีย หลายพันล้านอัน ที่ทำหน้าที่สร้างพลังงานให้กับร่างกายเรา โคเอนไซม์ คิว 10 เป็นสารประกอบแอนติออกซิแดนท์ที่เหมือนกับวิตามินเค สร้างขึ้นที่ตับและเซลล์อื่นๆ แม้ว่าร่างกายสามารถสร้างขึ้นมาเองได้ แต่ก็ยังมีผู้คนจำนวนมากที่ยังขาดสารเหล่านี้ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจและหัวใจล้มเหลว โคเอนไซม์ คิว 10 มี มากในเครื่องในสัตว์, เนื้อสัตว์, ปลา, ถั่วต่างๆ, ผักพวยเล้ง และบร๊อคโคลี่


โรคที่เกิดจากการมีคิว 10 ไม่เพียงพอ

          โลกที่มีความเครียดสูงอย่างนี้ ผู้คนส่วนมากไม่ได้รับโคคิว 10 อย่างเพียงพอ ถึงแม้เราจะอยู่ได้ทั้งๆ ที่ไม่มีคุณภาพ พร้อมไปกับอาการกล้ามเนื้ออ่อนแอ, ความบกพร่องทางระบบประสาท , ความคิดความอ่านช้า, โรคหัวใจล้มเหลวจากเลือดคั่ง,  ความอ้วน, ความดันโลหิตสูง , อ่อนเพลีย, ปวดเค้นในอก หรือระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องเหล่านี้ล้วนมาจากการมีระดับโคคิว 10 ต่ำ การขาดโคคิว 10 เนื่องจากความผิดปกติ ทางพันธุกรรมเกิดขึ้นน้อยมาก ส่วนมากมาจากสาเหตุมาจากโภชนาการที่ไม่ดี หรือ โรคบางชนิดที่ต้องการโคคิว10 มากกว่าที่ร่างกายจะสร้างขึ้น กลุ่มที่ขาดโคคิว 10 อีกพวกหนึ่งคือ ผู้สูงอายุที่ร่างกายผลิตสารแอนติออกซิแดนท์ ได้น้อยลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้


โคคิว 10 กับหัวใจ

         เนื่องจากหัวใจต้องเต้นโดยเฉลี่ยวันละ 100,000 ครั้ง มันจึงต้องการพลังงานอย่างต่อเนื่องซึ่งจะต้องใช้โคคิว 10 ปริมาณมาก โรคหัวใจล้มเหลวจากเลือดคั่งอาจเป็นสิ่งที่เลวร้ายที่สุด เพราะหัวใจไม่สามารถสูบฉีดโลหิตได้อย่างเพียงพอ ผู้ป่วยจึงค่อยๆ ถูกขโมยลมหายใจและพลังงานไป การศึกษาหลายครั้งได้ถูกรวบรวมไว้โดยระบุถึงความสามารถของโคคิว 10 ในการลดอาการหัวใจล้มเหลว โดยมีการศึกษาครั้งหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร American Journal of Therapeutics พบว่า การใช้โคคิว 10  เป็นอาหารเสริมทำให้หัวใจสูบฉีดโลหิตได้ มากกว่า 15.7%  และทำให้การออกกำลังกายได้ นานขึ้น 25.4%


ป้องกันหลอดเลือดแดงแข็งกระด้าง (Artheriosclerosis)

          โรคที่ร้ายแรงอีกชนิดหนึ่งคือ โรคหลอดเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ (Coronary artery disease หรือCAD) ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดหัวใจล้มเหลว สิ่งสำคัญในการเกิด  CAD นี้ก็คือการสะสมตัวของไขมันที่ผนังหลอดเลือดแดงโดยตรง ซึ่งทำให้เกิดหลอดเลือดแดงแข็งกระด้าง (Artheriosclerosis) โคคิว 10 ทำหน้าที่สำคัญ ในการป้องกันโรคหลอดเลือดแดงแข็งกระด้างโดย ไปจำกัดปริมาณไขมันที่สะสมอยู่ที่ผนังหลอดเลือดสามารถลดแผลช้ำที่เกิด จากผนังหลอดเลือดแข็งด้าง ทำให้หลอดเลือดมีความคงตัวดีขึ้น


เจ็บเค้นในอก (Angina) ความดันโลหิตสูง

         ผู้ที่รับประทานโคคิว 10 มีอาการเจ็บเค้นในอกลดลง 50 เปอร์เซ็นต์ และสามารถออกกำลังกายได้ยาวนานขึ้น ยังช่วยผู้ที่มีความดันโลหิตสูง การใช้โคคิว10  รักษาเป็นเวลา10 สัปดาห์ทำให้ความดันเลือดตัวบน (Systolic) ลดลง 20 จุด  และความดันตัวล่าง(Diastolic)ลดลง 10 จุด


โคคิว 10 กับกล้ามเนื้อ

          เนื่องจากส่วนใหญ่ของหัวใจประกอบด้วยกล้ามเนื้อ โคคิว 10 นั้นมีส่วนช่วยผู้ป่วยที่เกิดกล้ามเนื้อเสื่อมสลาย (Dystrophy) ในการทดลองแบบ Double-Blind สองครั้งโดยมีการควบ คุม ติดตามผลอาการกล้ามเนื้อเสื่อมสลาย นักวิจัยพบว่า การให้โคคิว วันละ 100 มก. ช่วยทำให้  “การทำงานของสรีระดีขึ้น” การทำงานของหัวใจเพิ่มขึ้นและอาการอ่อนเพลียลดลง


โคคิว 10  กับสมอง

           โรคพาร์คินสัน เป็นความเสื่อมของระบบประสาทที่พบได้มากที่สุด โดยมีผลต่อผู้ที่มีอายุระหว่าง 65 ถึง 74 ปี อยู่ถึง 15 เปอร์เซ็นต์ และเกือบครึ่งหนึ่งของผู้ที่สูงอายุ กว่า 85 ปี โรคพาร์คินสันซึ่งเกิดจากการถูกทำลายของประสาทพิเศษชื่ว่า Striatal dopaminergic neurons ที่อยู่ลงลึกไปในสมองพบว่า ผู้ป่วยด้วยโรคนี้ มีระดับโคคิว 10 ต่ำ การศึกษาครั้งหนึ่งพบว่า การให้โคคิว 10 เป็นอาหารเสริมช่วยชะลอความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อประสาทพิเศษเหล่านี้ลงได้จริงๆ โคคิว 10 เองก็เป็นการรักษาแบบธรรมชาติ อย่างแรกที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการต่อสู้กับโรคที่ทำให้เกิดการทำลายอย่างร้ายแรงชนิดนี้ โรคทางระบบประสาทที่ร้ายแรงอีกชนิดคือ โรคฮันทิงตัน (Huntington’s diease) เป็นโรคทางกรรมพันธุ์ชนิดหนึ่งที่หายยากและร้ายแรงถึงขนาดทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมร่างกาย และต้องทนทุกข์กับสภาพความคิดความอ่านที่เสื่อมถอยลง โชคร้ายที่ยังไม่มีวิธีที่ได้ผลดีในการรักษา อย่างไรก็ดี ในการศึกษาแบบใช้ยาหลอกแบบสุ่มโดยมีการควบคุมที่ตีพิมพ์ในวารสาร Neurology ก็พบว่าผู้ป่วยที่รับประทานโคคิว 10 มีการเสื่อมทางประสาทลดลง 13 เปอร์เซ็นต์ แม้ว่าจะไม่สามารถรักษาโรคฮันทิงตันได้ โคคิว 10 ก็เป็นสารชนิดแรกที่สามารถชะลออาการของโรคให้ช้าลงได้


โรคหัวใจกับโคเอนไซม์คิว 10

          หัวใจเป็นหนึ่งในอวัยวะเพียงไม่กี่ชิ้นในร่างกายที่ต้องทำงานติดต่อกันโดยที่ไม่หยุด ดังนั้นกล้ามเนื้อหัวใจ (Myocardium) จึงต้องการพลังงานมาก หากเกิดสภาวะใดก็ตามที่ทำให้ระดับโคคิว 10 ลดลง จะมีผลต่อการผลิตพลังงานให้แก่หัวใจ ทำให้มีแนวโน้มที่จะถูกฟรี แร็ดดิคัล จู่โจมได้ง่าย ความเครียดที่เกิดจาก ฟรีแร็ดดิคัล จะแสดงให้เห็นอาการได้ง่าย ถ้าปล่อยให้อาการหัวใจล้มเหลว และเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ อาจเกิดอันตรายได้ หัวใจจึงต้องการโคคิว 10 ในปริมาณที่มากขึ้นอย่าง น้อยวันละ 300 ถึง 400 มก.กรณีการเกิดหัวใจล้มเหลวในเพศชายนั้นสามารถระบุสาเหตุได้ ในสตรีมักเป็นแบบไม่ทราบสาเหตุ จากการวิจัยในผู้ป่วยที่เป็นสตรีทำให้เชื่อว่า อาการหัวใจล้มเหลวโดยส่วนมากนั้นเกิดจากอาการขาดโคคิว 10 ลดลงจนเป็นอันตราย ทำให้  สูญเสียพลังงานในกล้ามเนื้อหัวใจ ซึ่งประสบการณ์ของผู้เขียนใช้โคคิว 10 มาตั้งแต่ปี 1986โดยให้ครั้งแรกแก่คนไข้ที่ทำการผ่าตัดบายพาส เพียงครั้งละ 10 มก.วันละ  3 ครั้ง ตั้งแต่นั้นมาก็ให้เพิ่มปริมาณการใช้ขึ้นกว่าตอนแรก ปัจจุบันมีผู้ป่วยหลายประเทศ และพันคนที่รับประทานโคคิว 10 ในปริมาณที่ต่างกันออกไป ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับอาการของแต่ละคน เพราะหากผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อโคคิว 10 ในปริมาณที่ต่ำ ก็จะต้องเพิ่มปริมาณเข้าไป และคงระดับนั้นเอาไว้ ซึ่งบางกรณีอาจต้องให้ได้รับวันละ 500 มก. หรือมากกว่านั้นเพื่อให้เกิดผลในการรักษา


Congestive Heart Failure (CHF)

         หัวใจล้มเหลวเพราะเลือดคั่ง (CHF) ร้ายแรงที่สุด มักจะทำให้เกิดความทุกข์ทรมานต่อสตรีวัย 70 ถึง80 ปี อัตราการรอดชีวิตมีน้อยกว่ามะเร็งเต้านม และมักจะเป็นอาการขั้นสุดท้ายของโรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery disease) ความดันโลหิตสูง, อาการขาดโลหิตเฉพาะที่เนื่องมาจากหลอดเลือดอุดตัน (Is-chemia)  กล้ามเนื้อหัวใจตาย (Myocardial Infarction), ติดสุราเรื้อรัง หรือการติดเชื้อไวรัสเฉียบพลัน และผู้ป่วยหนึ่งในสาม ป่วยด้วยโรคนี้โดยไม่ทราบสาเหตุ มีความเป็นไปได้สูง ที่ว่าผู้ป่วยโดยไม่ทราบสาเหตุนั้นอาจเนื่องมาจากด้านโภชนาการ เนื่องจากผู้หญิง (และผู้ชาย) สูงอายุต่างก็มีระดับโคคิว 10 และสารอาหารที่จำเป็นอื่นๆ ลดลง การศึกษาทางคลินิกวิทยาหลายครั้ง หลายแห่งได้รวบรวมข้อมูล และผลดีต่างๆ ของโคเอนไซม์คิว 10 สารนี้แสดงให้เห็นความสามารถในการทำให้อาการเจ็บเค้นในหน้าอกดีขึ้น ช่วยลดความดันโลหิต งานวิจัยยังแสดงให้เห็นว่า โคคิว 10 ช่วยทำให้คนไข้หายจากการป่วยและฟื้นตัวเร็วกว่าจากการผ่าตัดบายพาสยังช่วยบรรเทาพิษที่เกิดจากยาที่ใช้ในการลดโคเลสเตรอรอลและเคมีบำบัด


ลิ้นหัวใจรั่ว (Mitral Valve Prolapse)

       การรักษาโรคลิ้นหัวใจรั่ว การรักษาด้วยยา พบว่ามีหลายรายมากที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาBeta-Blocker และแม้แต่ผู้ที่ตอบสนองต่อการรักษาก็ยังกล่าวถึงผลข้างเคียงที่เกิด เช่น

- อ่อนเพลีย

- ความคิดสับสน

- ผมร่วง

- หลงลืม

         อย่างไรก็ตามต้องใช้เวลานานประมาณ 30 – 60 นาที จนกว่ายาจะออกฤทธิ์ การรักษาแนวใหม่ด้วยวิธีที่ง่ายด้วย การให้วิตามินและเกลือแร่ซึ่งไม่มีผลข้างเคียงใดๆ 25 – 30 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วย สนองตอบต่อโคคิว 10 ค่อนข้างดี อาการแน่นหน้าอกและหายใจไม่เต็มอิ่มลดลง เมื่อใช้โคคิว 10 วันละ 90–180 มก.ซึ่งในปริมาณ ที่กล่าวมานี้ให้ผลดีมากต่ออาการหัวใจเต้นผิดปกติ และยังทำให้เนื้อเยื่อเกิดการสมดุล


ยารักษาโรคหัวใจอาจทำให้เกิดมะเร็งที่เต้านม

       ผู้ที่มีประวัติหลอดเลือดหัวใจ มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งที่เต้านมได้ พบว่าระดับโคคิว 10 ในผู้ป่วยมะเร็งหลายชนิดนั้นมีระดับต่ำ การศึกษาจากประวัติสตรีที่เป็นมะเร็งที่เต้านม 200 คน พบว่า 40 เปอร์เซ็นต์มีระดับโคคิว 10 ต่ำกว่าปกติ สัมพันธ์กับคนไข้ที่ใช้ยา HMG - CoA Reeducates ได้แก่ ยาพวก

-  Lipitor

-  Mevacor

-  Zocor

-  Pravachol

        ยาเหล่านี้เข้าไปขัดขวางกระบวนการทางชีวบำบัดประมาณ 20 อย่างในร่างกาย  ยาสามารถเข้าไปลดคลอเลสเตอรอลได้ แต่มันก็ทำให้ระดับโคคิว 10 ต่ำลงทำ  ให้เกิดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็ง หากจำเป็นที่ต้องใช้ยานี้ก็ควรที่จะรับประทาน โคคิว 10 เสริมเข้าไปด้วยในปริมาณ 100 มก. 


กลุ่มเสี่ยงโรคมะเร็งเต้านม

            หญิงหลังวัยหมดรอบเดือนเสี่ยงมากกว่า หญิงที่อ่อนวัยกว่า ผู้หญิงมีความเสี่ยงต่อมะเร็งที่เต้านม การรับประทานอาหารมังสวิรัติ จะมีความเสี่ยงหากไม่ได้รับโคคิว 10 และแอ-คาร์นิทีนจากอาหารปกติอย่างเพียงพอ


ปริมาณที่แนะนำ

            โคคิว 10 นั้นมีความปลอดภัยและร่างกายสามารถทนทานได้  สามารถละลายได้ในไขมัน จึงควรรับประมาณไปพร้อมกับอาหาร

1. ควรปรึกษาแพทย์หากรับยาโรคเบาหวานหรือยาลดความดันโลหิต เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีผลข้างเคียงในการใช้โคคิว 10
2. รับประทานวิตามินบี 6 วันละ 25–100 มก.เพื่อเสริมให้เกิดการผลิตโคคิวมีมากขึ้น
3. โรคเบาหวานปริมาณโดยเฉลี่ย 150 มก. วันละ 3 ครั้ง
4. ปวดเค้นในอก 50 มก. วันละ 2 ครั้ง
5. ปัญหากล้ามเนื้อ วันละ 100 – 150 มก.
6. โรคฮันทิงตัน 300 มก. วันละ 2 ครั้ง
7. โรคพาร์คินสัน 200 มก. วันละ 4 ครั้ง
8. โรคหัวใจล้มเหลวเนื่องจากเลือดคั่ง 300 – 400 มก.
9. โรคความดันโลหิตสูง 120 – 240 มก.
10. ป้องกันไมโตคอนเดรียเสื่อมสภาพ 60 – 90 มก. ต่อวัน

 

 

ประโยชน์ของน้ำมันรำข้าวจมูกข้าว

1. ป้องกันโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดตีบตัน   ในน้ำมันรำข้าวสกัดมี Gamma Oryzanol, Phytosterol,Tocopherol, Tocotrienol,Oleic Acid (Omega 9) ซึ่งสารดังกล่าวข้างต้น
- ช่วยลดคลอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดี (LDL-Low Density Lipoprotein)
- ช่วยลดไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride)
- ช่วยเพิ่มระดับของ HDL.(High Density Lipoprotein) ซึ่งเป็นคลอเรสเตอรอลที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย มีผลทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตในร่างกายทำงานเป็นปกติ อวัยวะต่างๆ เช่น หัวใจ, สมอง , ตับ,ไต ฯลฯทำงานได้ดีขึ้น ทำให้สามารถป้องกันการเกิดโรคหัวใจ และกลุ่มโรคหลอดเลือดตีบตันได้ เช่น โรคหัวใจขาดเลือด,หัวใจวาย,  อัมพาต,อัมพฤกษ์ เป็นต้น


2. ป้องกันโรคเบาหวาน ในน้ำมันรำข้าวสกัดมี ธาตุโครเมียม ซึ่งธาตุนี้เมื่อร่างกายดูดซึมเข้าสู่ระบบไหลเวียนโลหิต จะทำหน้าที่ในการจับฮอร์โมนอินซูลินทำให้ฮอร์โมนอินซูลิน คงตัวได้นานเกาะตามเซลล์ต่างๆของกล้ามเนื้อ ทำให้ฮอร์โมนอินซูลินมีประสิทธิภาพสูงขึ้น มีผลทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานควบคุมได้ง่ายขึ้น

 

3. ป้องกันโรคมะเร็ง ในน้ำมันรำข้าวสกัดมี กลุ่มวิตามินอี (Tocopherol,Tocotrienol) ,สเตอรอลจากพืช(Phytosterol) ,แกมม่า-โอไรซานอล (Gamma-Oryzanol) ซึ่งสารดังกล่าวข้างต้น มีสารต้านอนุมูลอิสระ (Anti-Oxidant) ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคมะเร็ง

 

4. ป้องกันโรคสายตา ในน้ำมันรำข้าวสกัดมี โปรวิตามินเอ - เบต้าแคโรทีน ซึ่งสามารถป้องกันโรคที่เกิดจากการขาดวิตามินเอได้ โดยเฉพาะโรคน้ำตาแห้งเป็นต้น นอกจากนี้ยังบำรุงเส้นผมให้ดกดำเป็นเงางามและมีสุขภาพเล็บที่ดี

 

5. ป้องกันโรคสมองเสื่อม ในน้ำมันรำข้าวสกัดมี Omega3 ,กลุ่มวิตามินอี,แกมม่า-โอโรซานอล, Phospholipid  ซึ่งสารดังกล่าวข้างต้น มีคุณสมบัติรักษาสมดุลของระบบประสาท บำรุงสมองเสริมความจำ ป้องกันโรคสมองเสื่อม และโรคอัลไซเมอร์

 

6. บำรุงผิวพรรณ ในน้ำมันรำข้าวสกัดมี Linoleic Acid (Omega 6),Squalene (Ceramide Group) ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของชั้นผิวหนัง ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น ทำให้ผิวยืดหยุ่นลดริ้วรอย ป้องกันรังสี UVจากแสงแดด และช่วยปรับสภาพผิว ทำให้ดูขาวกระจ่างใส

 

7. ทำให้นอนหลับสบาย  ในน้ำมันรำข้าวสกัดมีสารกระตุ้นให้ร่างกายสร้างสารเมลาโทนิน (Melatonin) ซึ่งช่วยทำให้นอนหลับสบาย ,ช่วยลดความเครียด

 

8. อุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหารที่ช่วยบำรุงร่างกาย  ในน้ำมันรำข้าวสกัดมี วิตามินและแร่ธาตุมากมาย เช่น โครเมียม,แมกนีเซียม,แมงกานีส,สังกะสี,ซีลิเนียม,เหล็ก,โปแตสเซียม ซึ่งจำเป็นต่อการทำงานของระบบหัวใจ ,ระบบประสาท ,ระบบสมอง และอวัยวะอื่นๆ

 

9. ทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตดีขึ้น   ในน้ำมันรำข้าวสกัดมี สาร Policosanol (โพลิโคซานอล) ซึ่งสารตัวนี้ ทำหน้าที่เป็น Anti-platelet agent ซึ่งเป็นสารป้องกันการอุดตันของหลอดเลือด ช่วยให้ผู้ป่วยโรคหัวใจ และโรคหลอดเลือด มีระบบไหลเวียนโลหิตดีขึ้น

 

โอรีซานอล (Oryzanol

          เป็นสารธรรมชาติที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยมีที่มาจากคาว่า โอรีซาซัลทีวา (OryzaSaltiva) ซึ่งแปลว่า ข้าว เพราะโอรีซานอลพบมากในผิวของเมล็ดข้าวกล้องหรือที่เรียกว่า รำข้าว นั่นเอง จึงพบโอรีซานอลในน้ามันราข้าวเท่านั้น โอรีซานอลเป็นสารที่มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับวิตามินอีในการต้านอนุมูลอิสระ และยังเป็นสายโซ่ธรรมชาติที่ดีในการป้องกัน การเกิดออกซิเดชั่น (Antioxidant) ของน้ำมัน ที่สาคัญอรีซานอลสามารถป้องกันการออกซิเดชั่นของกรดไขมันอิ่มตัวได้ดีกว่าวิตามินอีกลุ่มโทโคฟีรอล และกลุ่มโทโคไตรอีนอล ซึ่งการเกิดออกซิเดชั่นนั้นเป็นสาเหตุของการเกิดสภาวะที่ผิดปรกติในร่างกายเช่น โรคมะเร็ง และโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือนอกจากนั้น โอรีซานอล ยังมีคุณสมบัติช่วยลดโคเลสเตอรอลที่ไม่ดี (LDL-C) ให้กับร่างกายได้อีกด้วย สารโอรีซานอลถูกค้นพบโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นซึ่งเป็นอนุมูลอิสระที่สาคัญอีกชนิดหนึ่ง โดยสถาบันวิจัยบรานสวิคส์ (BrunswickLaboratories) แห่งสหรัฐอเมริกาทาการวิจัยและพบว่า โอรีซานอลสามารถต้านอนุมูลอิสระได้ดีกว่าวิตามินอีถึง 6 เท่า

 

ผลวิจัยยืนยันคุณค่าโอรีซานอล

          จากการรวบรวมผลงานวิจัยทางด้านโภชนาการของโอรีซานอล พบว่า การบริโภคโอรีซานอลสามารถลดระดับ โคเลสเตอรอลในเลือด ส่งเสริมการทางานของหลอดเลือด ลดการจับตัวของเกล็ดเลือดและลดการสังเคราะห์ โคเลสเตอรอลในตับ ปัจจุบันโอรีซานอลยังมีความสาคัญมากขึ้น ในการใช้เป็นยา อาหารเสริมสุขภาพ และเครื่องสาอาง นอกจากนั้น ยังช่วยปรับสมดุลของระดับฮอร์โมนในสตรีวัยทอง ลดอาการวูบวาบ (Hot flashes) ป้องกันแสงยูวีทำให้ผิวหนังชุ่มชื้น ใช้ต้านการอักเสบ และโอรีซานอลในน้ามันราข้าวยังสามารถ เพิ่มระดับโคเลสเตอรอลชนิดดี(HDL-C) ได้อีกด้วย

ที่มา :

1. นัยนา บุญทวียุวัฒน์ และเรวดี จงสุวัฒน์, 2545 น้ำมันรำข้าวทางเลือกเพื่อสุขภาพของคนไทยพิมพ์ครั้งที่ 1, โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ.

2. กลุ่มข้อมูลข่าวสาร บริษัท น้ำมันบริโภคไทย จำกัด

 

          แกมมาโอไรซานอล (Gamma Oryzanol) เป็นสารธรรมชาติที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง มีรากศัพท์มาจากคาว่า โอรีชา ชัลทิวา (OryzaSativa) ซึ่งแปลว่า ข้าว นั่นเอง เนื่องจากพบสารออไรซานอลมากที่สุดในข้าว โดยเฉพาะในส่วนผิวที่มีสีน้าตาลอ่อนของข้าวที่ยังไม่มีการสีออก ที่เราเรียกว่า ราข้าว ดังนั้น โอไรซานอล จึงพบได้ในน้ำมันร้ำข้าว เท่านั้น ไม่พบในน้ำมันพืชชนิดอื่น ออไรซานอล มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สาคัญและสามารถต้านอนุมูลอิสระได้ดีกว่าวิตามินอี ถึง 6 เท่าในภาวะที่อยู่ในน้า คุณสมบัติเด่นหลายประการที่น่าสนใจของสาร แกมมาออไรซานอล มีดังนี้

1. เป็นตัวแอนตี้ออกซิแดนท์ (Antioxidant) คือสารต้านอนุมูลอิสระ ลดการเสื่อมสภาพของเซลล์ในร่างกายอันทาให้เกิดการแก่ก่อนวัย (Anti-aging) ช่วยป้องกันการเกิดเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์ผิดปกติ หรือที่เรียกว่า เซลล์มะเร็ง (Cancer)

2. มีความสามารถในการป้องการเซลล์ผิวจากการถูกทาลายด้วยแสงแดด

3. ยับยั้งการทางานของ เอ็นไซม์ไทโรซิเนส ซึ่งเป็นตัวเร่งสร้างเม็ดสี จึงทาให้ผิวดูกระจ่างสดใสขึ้น

4. ลดระดับของไขมันในเลือด ลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจอุดตัน

5. เพิ่มการหลั่งสารเอ็นดอร์ฟิน (Endophine Hormone) ช่วยผ่อนคลายความเครียด และหลับสบาย

6. กระตุ้นการหลังฮอร์โมนสาหรับการเจริญเติบโต (Growth Hormone)

7. ลดการสูญเสียแคลเซียม ทาให้ลดอัตราการเกิดโรคกระดูกพรุน

8. ลดอัตราการเกิดภาวะวัยทอง (Menopause)

         

        เมื่อคอเลสเตอรอลท่วมท้น...โอรีซานอลคือกุญแจแก้ไข สุขภาพของคนไทยในยุคปัจจุบัน ตกอยู่ในสภาพที่บอกได้คำเดียวว่า ย่ำแย่ เพราะนอกจากจะมีภาวะโภชนาการที่ไม่สมดุลแล้ว ยังต้องเผชิญกับสภาวะแวดล้อมและปัจจัยบีบรัดทางจิตใจที่ช่วยทำให้ร่างกายทรุดโทรมไปเป็นลำดับ ยิ่งบรรดามนุษย์เงินเดือนในเมืองด้วยแล้ว ยิ่งน่าเป็นห่วง ทั้งนี้ โรคที่พึงระมัดระวังเป็นพิเศษ แต่คนมักไม่ค่อยใส่ใจก็คือ ปัญหาคอเลสเตอรอล อันเป็นที่มาของ โรคหัวใจและหลอดเลือด

          ผศ.ดร. เรวดี จงสุวัฒน์ ภาควิชาโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลให้ข้อมูลเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร เพื่อป้องกันโรคหัวใจ และหลอดเลือดของคนไทยว่า การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทาให้อาหารมีความหลากหลายและมีความสะดวกในการซื้อสูงขึ้น ซึ่งส่งผลให้แบบแผนการบริโภคอาหารของคนไทยเปลี่ยนแปลงไปมากมีการบริโภคเนื้อสัตว์เพิ่มขึ้น ทาให้ได้รับกรดไขมันอิ่มตัวและคอเลสเตอรอลมากขึ้น รวมทั้งมีการบริโภคน้าตาลและโซเดียมเพิ่มขึ้นด้วย

         นอกจากนี้ กิจกรรมประเภทที่ไม่ต้องเคลื่อนไหวก็มีสูงขึ้น ทั้งการนั่งดูโทรทัศน์ การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ การออกกาลังกายน้อยลง ปัจจัยต่างๆเหล่านี้ เป็นสาเหตุทำให้อัตราความชุกของภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ภาวะน้า-หนักเกิน โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง เพิ่มสูงขึ้นเป็นลำดับพร้อมๆ กัน ซึ่งปัจจัยเสี่ยง เหล่านี้เป็นสาเหตุทาให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด การบริโภคอาหารเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดปัจจัยเสี่ยงของโรคต่างๆสำหรับปัญหา คอเลส เตอรอลสูง จะต้องระมัดระวังการรับประทานอาหารประเภทไขมันเป็นพิเศษ โดยลดกรดไขมันอิ่มตัว ทั้งในส่วนที่มองเห็นได้ในเนื้อสัตว์ เช่น มันหมู หนังเป็ด หนังไก่ ซึ่งยังอาจไม่เพียงพอ ควรเลี่ยงการบริโภคน้ามันที่มีกรดไขมันอิ่มตัวสูงตัว ได้แก่ น้ามันหมู น้ามันมะพร้าว น้ามัปาล์ม ควรจะแทนที่ด้วยน้ามันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวสูง ได้แก่ น้ามันมะกอก น้ำมันรำข้าว เพราะ กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว มีผลในการลดคอเลสเตอรอลที่ไม่ดี โดยไม่ลดคอเลสเตอรอลที่ดี" "อย่างไรก็ตามกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว จะให้ประโยชน์ได้เต็มที่ในการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด ก็ต่อเมื่อมีการจากัดปริมาณไขมันที่บริโภค การลดกรดไขมันอิ่มตัวในอาหารลง และ การจากัดปริมาณคอเลสเตอรอลในอาหารที่บริโภค"

          ด้าน รศ.นฤมล จียโชค รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี อธิบายเกี่ยวกับแกมมา-โอรีซานอล (Gamma Oryzanol) หรือ โอรีซานอลว่าเป็นสารธรรมชาติที่ถูกค้นพบครั้งแรกในน้ามันราข้าวเมื่อปี ค.ศ.1954 โดยปริมาณโอรีซานอลที่ค้นพบในน้ามันราข้าวมีมากกว่าวิตามินอีประมาณ 20 เท่า ซึ่งน้ามันรำข้าวเป็นแหล่งสาคัญที่พบโอรีซานอล นอกจากนี้ ยังพบโอรีซานอลในธัญพืชอื่น ๆ เช่น ข้าวโพด ข้าวสาลี ข้าวไรย์ ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เล่ย์ และ Triticale อีกด้วย สาหรับคุณสมบัติพิเศษ ของโอรีซานอลนั้น สามารถสรุปออกได้เป็น 4 ประการ ดังนี้

1. ทาหน้าที่เป็นสารแอนติออกซิแดนท์คล้ายกับวิตามินอี ในการลดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น แต่แกมมาโอรีซานอลสามารถลดปฏิกิริยาออกซิเดชันของคอเลสเตอรอลได้สูงกว่าวิตามินอี จึงนามาใช้เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์เครื่องสาอางต่าง ๆ มากมาย

2. ลดการสังเคราะห์คอเลสเตอรอลในตับ และลดการดูดซึมคอเลสเตอรอลของร่างกาย

3. ช่วยรักษาอาการของระบบประสาทที่ทางานผิดปกติ และภาวะหลังหมดประจำเดือนที่แปรปรวน โดยคาดว่าน่าจะไปมีผลกับระบบฮอร์โมน

4. ช่วยส่งเสริมการสร้างกล้ามเนื้อ มักใช้กันมากในกลุ่มของนักกีฬา เนื่องจากมีผลต่อการปลดปล่อยสารเอนโดฟิน และการเพิ่มระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน เนื่องจากโอรีซานอลมีประโยชน์หลายประการ จึงถูกนาไปใช้อย่างแพร่หลายทั้งทางด้านอาหาร เครื่องสาอาง และทางการแพทย์ โดยยืนยันได้จากงานทดลองที่มีเป็นจานวนมาก

 

 

 

 

 

โคเอนไซม์คิวเท็น Q10 Coenzyme q10 Q10, Coenzyme q10, โคเอนไซม์คิวเท็น, คิวเทน, โรคหัวใจ, หลอดหลอดเลือด, โรคคอเรสเตอรอล , โรคไตรกรีเซอร์ไรด์, หลอดหลอดเลือดหัวใจ, โรคหัวใจรั่ว, หลอดเลือดหัวใจตีบ, หลอดเลือดสมองตีบตัน, ไขมันในหลอดเลือด, บำรุงผิวพรรณด้วยคิวเท็น, คิวเท็นนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น